วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก ( ตอนที่๔ )



โครงสร้างของพระไตรปิฎก       
      พระธรรมวินัย ที่บรรจุอยู่ในพระไตรปิฎกนั่น เป็นหลักในการจัดหมวดหมู่ของพระไตรปิฎกธรรมและวินัย ๒ อย่าง ท่านนำมาเก็บรวมจัดใหม่แยกเป็น ๓ ปิฎก คือ
      วินัย ได้แก่ ระเบียบข้อบังคับสำหรับชีวิตและชุมชนของภิกษุและภิกษุณี จัดไว้เป็นคัมภีร์หนึ่ง เรียกว่า วินัยปิฎก     
      ธรรม จัดแยกเป็น ๒ คัมภีร์ คือ      
      ๑) ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยักเยื้องไปต่าง ๆ ให้เหมาะกับบุคคลสถานที่เหตุการณ์มีเรื่องราวประกอบจัดรวมไว้ เรียกว่า สุตตันตปิฎก     
      ๒) ธรรมที่แสดงเป็นเนื้อหาหรือหลักวิชาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่มีเรื่องราวประกอบจัดไว้พวกหนึ่ง เรียกว่า อภิธรรมปิฎก ดังแผนภูมิแสดงโครงสร้างพระไตรปิฎกต่อไปนี้ (พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ๒๕๔๓ : ๗๒๗๔)





      พระไตรปิฎก หรือปิฎก ๓ นี้ เป็นคัมภีร์ที่มีขนาดใหญ่โตมาก มีเนื้อหามากมาย ดังที่ท่านระบุไว้ว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ฉบับพิมพ์อักษรไทยจัดแยกเป็น ๔๕ เล่ม นับรวมได้ถึง ๒๒,๓๗๙ หน้า หรือเป็นตัวอักษรประมาร ๒๔,๓๐๐,๐๐๐ ตัว     
      แต่ละปิฎกมีการจัดแบ่งหมวดหมู่บทตอน ซอยออกไปมากมายซับซ้อน ดังปรากฏในแผนภูมิแสดงโครงสร้างพระไตรปิฎกที่กล่าวมา
      ในประเทศไทย พระไตรปิฎกได้รับการตีพิมพ์เป็นเล่มหนังสือด้วยอักษรไทยเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ การตีพิมพ์เสร็จเรียบร้อยและมีการฉลองใน พ.ศ.๒๔๓๖ พร้อมกับงานรัชดาภิเษก พระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์ครั้งนั้นจัดเป็นจบละ ๓๙ เล่ม 
      ต่อมา พ.ศ.๒๔๖๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้โปรดเกล้าฯให้ตีพิมพ์ใหม่เป็นพระไตรปิฎกฉบับที่สมบูรณ์ เพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ ๖ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ มีจำนวนจบละ ๔๕ เล่ม ซึ่งได้ถือเป็นหลักในการจัดแบ่งเล่มพระไตรปิฎกในประเทศไทยสืบมาจนปัจจุบัน


ดร.ประมูล สารพันธ์       

สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ 


Next
บทความใหม่กว่า
Previous
This is the last post.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น